เที่ยวจังหวัด น่าน

น่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7ล้านไร่เศษอาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงรายความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขาอีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝนหรือเหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยวยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วยป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือ เทือกเขาผีปันน้ำและ หลวงพระบาง โดยมีแม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือแม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ 

1.อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

     น่าน

  อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริมเทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัยโดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร
  ดอยภูคา เป็นต้นแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัวบริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อนก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากันทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือดังที่พบในเขตอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปีบนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species)อายุ 195-205 ล้านปี จัดว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย
  สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้งเป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา(บ้านมณีพฤกษ์) อ.ทุ่งช้าง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามและยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วย, ถ้ำผาฆ้องเป็นถ้ำขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและลำธารไหลผ่าน แต่ช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตรและต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร


 

2.บ่อเกลือสินเธาว์

      น่าน

  พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณเมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ โดยบ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตรชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา(บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน) 
  บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้าซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน มีบ่อใหญ่ 5บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมากปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิมจะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพักก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่เคี่ยวจนน้ำงวดแห้งใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้านเกลือเมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อนถึงมือผู้บริโภค 
  บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตรชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา(บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)




3.เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม)และคอกเสือ

    น่าน

  เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ อยู่ที่ตำบลเชียงของห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตรจากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตรเป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย "แพะเมืองผี" ที่จังหวัดแพร่จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย(late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาตินักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้วเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่(ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน)แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า




4.วัดหนองบัว

    

    น่าน

    น่าน

  วัดหนองบัว ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามเส้นทาง1080 เลี้ยวซ้ายที่ กม.40 ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก 3 กิโลเมตรวัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้านจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราว พ.ศ.2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)
  ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย "ทิดบัวผัน"ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434)ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบางนอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จและยังมีภาพของเรือกลไฟและดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงามนับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่านนอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย




5.วัดพระธาตุแช่แข็ง

    น่าน

  วัดพระธาตุแช่แห้งเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัววัดพระบรมธาตุแช่แห้ง สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง(เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902)เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไทเมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วงจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897
  องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง)ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาคหน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยวซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน
  พระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่าหากได้เดินทางไป "ชุธาตุ"หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา06.00-18.00 น.
  การเดินทาง : วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ดจากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริมหรือทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กิโลเมตร




6.วัดพระธาตุช้างค้ำวรหาร

     น่าน

  วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก "วัดหลวง" หรือ"วัดหลวงกลางเวียง" สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949เป็นวัดหลวงในเขตนครน่านสำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่าพญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
  ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง)รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ "ค้ำ"องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัยและภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัยอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลายมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัยพระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสนฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน



7.วัดภูมินทร์

   น่าน

  เป็นวัดหลวงตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบันอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่านพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์"แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น "วัดภูมินทร์"
  จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหารและอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถรัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย
  สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410(ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปีจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ "ฮูบแต้ม"ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้นมีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อพ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ "อยู่ข่วง"หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า "เอาคำไปป่องกั๋น" หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชนภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา "เป๊อะ" ของป่าบนศรีษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่านภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่
  ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่านหญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็ก ๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า "ร้านน้ำ"ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทยแสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่านภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น





8.พิพิธภัณฑ์แห่งชาติน่าน

     น่าน

  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อยู่ที่ถนนผากองตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ”ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯเจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
  ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ชั้นชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่านรวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่น การสืบชะตา การแข่งเรือส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่านตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่านได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ 25 พานพระศรีเครื่องเงินลงยาซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย 
  พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร 0 5471 0561, 0 5477 2777




9.หอศิลป์ริมน่าน

     น่าน

  หอศิลป์ริมน่าน ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัยปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กิโลเมตร 20)ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอบ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานการสร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับกันโดยจัดนิทรรศการประจำปีในรูปแบบกึ่งถาวรขณะนี้มีผลงานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของผู้ก่อตั้ง ประมาณ 200 ชิ้น
  ปิดบริการ เวลา 09.00 น.- 17.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์-อังคาร รายละเอียดสอบถาม โทร.0 54798046 (เวลาปกติ), 0 1322 2912 หรือ http://www.nanartgallery.com/





10.อุทยานแห่งชาติศีรน่าน

     น่าน

  อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสานาน้อย และนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านพบสัตว์ป่าหายากอยู่หลายชนิด เช่นนกยูง ซึ่งมีอยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมีกวาง หมาป่า และหมาในมีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า, วัวแดง, และกระทิงซึ่งจะอพยพไปมาระหว่าง เขตติดต่อไทย-ลาว
  สถานที่น่าสนใจในอุทยาน ได้แก่ แก่งหลวงน้ำน่านเกิดจากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่านรวมทั้งโขดหินและหน้าผา ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้องยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหิน โขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงามจุดเด่นที่น่าสนใจ แนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่านยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้องยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหินโขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงามและหาดทรายที่ขาวสะอาดเป็นบริเวณกว้าง เหมาะสำหรับการมาท่องเที่ยวพักผ่อนและเล่นน้ำแก่งหลวงอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 14 กิโลเมตร
  ดอยผาชู้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีลักษณะเป็นโขดหินและหน้าผาขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่เขียวขจีหลายแสนไร่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และสายน้ำของแม่น้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยวสู่ทิศใต้ยาวหลายสิบกิโลเมตรยามหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกสีขาวตัดกับความเขียวขจีของป่าและแสงสีทองของดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าอย่างสวยงามมากและเป็นสถานที่เกิดตำนานรักสามเส้าที่ตัดสินความรักด้วยความตายจุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ยอดผาชู้เป็นสถานที่ตั้งสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต้องร้องเพลงชาติ 12 จบกว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา มีความยาวของสายธงชาติประมาณ 200 เมตรจากพื้นถึงยอดผาชู้ จุดชมวิว เป็นบริเวณกว้างอยู่ด้านหน้าของผาชู้สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกในยามเช้ามองเห็นแม่น้ำน่านที่ไหลทอดตัวผ่านใจกลางอุทยานแห่งชาติ เป็นระยะทางกว่า20 กิโลเมตร สวนหิน ที่เกิดจากธรรมชาติที่มีการจัดวางตัวอย่างสวยงาม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เที่ยวจังหวัด พิจิตร

เที่ยวจังหวัด นครสววรค์

เที่ยวจังหวัด กาญจนบุรี